มีการจัดการประชุมด้านมาตรวิทยานานาชาติเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1875 หรือประมาณ ปี พ.ศ. 2418 การประชุมครั้งนั้นทำให้เกิดการลงนามครั้วสำคัญเกี่ยวกับ สนธิสัญญานานาชาติที่เรียกว่า “สนธิสัญญาเมตริก” (The Metre Convention) ซึ่งถือได้ว่า ซึ่งเปนสนธิสัญญานานาชาติที่เกาแกอันดับสองของโลก โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้จัดตั้งสํานักงานชั่ง ตวง วัด ระหว่างประเทศ (International Bureau of Weights and Measures : BIPM) ซึ่งภาระหน้าที่หลักคือการสถาปนาเก็บรักษาหน่วยวัดสากล (International System of Unit, SI)
2. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมาตรวิทยาสากล (International Committee of Weights and Measures : CIPM) ประกอบด้วย นักวิทยาศาสตร์ชั้นนําที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์จํานวน 18 คน เพื่อกําหนดมาตรฐานที่เกี่ยวกับหน่วยวัดสากล ตลอดจนกิจกรรมกระบวนการต่างๆ เพื่อให้นานาชาติมีการวัดไปในทิศทางเดียวกัน อันจะนํามาซึ่งการยอมรับผลการวัดระหว่างประเทศต่าง ๆ
ระบบการวัดแห่งชาติทางวิทยาสาสตร์และอุตสาหกรรม (Scientific Metrology or Industrial Metrology)
เป็นระบบวัดแห่งชาติที่มุ่งเน้นความถูกต้องสูงสุดตามระบบมาตรฐานการวัดสากลหรือหน่วยวัด SI (international System of Units) สำหรับงานทางด้านวิชาการโดยเฉพาะ เช่น การวิจัย งานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี